Translate

อาการเจ็บป่วยตามหลักแพทย์วิถีธรรม


ตามหลักแพทย์วิถีธรรม พบว่า อาการเจ็บป่วยแบ่งได้เป็น ๕ กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

(๑)  กลุ่มอาการของภาวะร่างกายร้อนเกิน
(๒)  กลุ่มอาการของภาวะร่างกายเย็นเกิน
(๓)  กลุ่มอาการของภาวะร่างกายร้อนเกินและเย็นเกิน เกิดขึ้นพร้อมกัน
(๔)  กลุ่มอาการของภาวะร่างกายที่มีสาเหตุเกิดจากร่างกายร้อนเกินตีกลับเป็นอาการเย็นเกิน (เย็นหลอก)
(๕)  กลุ่มอาการของภาวะร่างกายที่มีสาเหตุเกิดจากร่างกายเย็นเกินตีกลับเป็นอาการร้อนเกิน (ร้อนหลอก)
                 ตัวอย่างอาการของภาวะร้อนเกิน
                 อาการเด่นที่มักเกิดเมื่อมีภาวะร้อนเกิน ได้แก่ ปากคอแห้ง กระหายน้ำ ปวด บวม แดง ร้อน ตึง แข็ง มึน ชา    แผลพุพอง ผื่น คัน ปัสสาวะเข้มปริมาณน้อย อุจจาระแข็ง กำลังตก ชีพจรเต้นแรง ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แมลงสัตว์กัดต่อย เริม งูสวัด การติดเชื้อตามอวัยวะต่างๆ เป็นต้น
                เมื่อมีภาวะร้อนเกิน ให้แก้ด้วยการใช้สิ่งที่มีฤทธิ์เย็นเท่าที่รู้สึกสบาย ลดหรืองดสิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนเท่าที่รู้สึกสบาย
                 ตัวอย่างอาการภาวะเย็นเกิน
                 อาการเด่นที่มักเกิดเมื่อมีภาวะเย็นเกิน ได้แก่ ปากคอชุ่ม ไม่กระหายน้ำ รสของน้ำจืดผิดปกติ ปวด เหี่ยว ซีด เ ย็น ตึง แข็ง มึน ชา ท้องอืด หัวตื้อ มืดเย็น เท้าเย็น หนาวสั่น ปัสสาวะใสปริมาณมาก อุจจาระเหลว กำลังตก ชีพจรเต้นเบา
                ถ้ามีภาวะเย็นเกิน ให้แก้ด้วยการใช้สิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนเท่าที่รู้สึกสบาย ลดหรืองดสิ่งที่มีฤทธิ์เย็นเท่าที่รู้สึกสบาย
                 ตัวอย่างอาการร้อนเกินและเย็นเกินที่เกิดขึ้นพร้อมกัน
                 มีไข้สูง ร่วมกับเย็นมือ เย็นเท้าหรือหนาวสั่น, ปวดศีรษะ ตัวร้อนร่วมกับท้องอืด, ในร่างกายมีบางส่วน ปวด บวม แดง ร้อน บางส่วน ปวด เหี่ยว ซีด เย็น เป็นต้น
                วิธีแก้ทั้งภาวะร้อนและเย็นเกิดขึ้นพร้อมกัน คือ ใช้สิ่งที่มีฤทธิ์เย็น โดยผ่านไฟหรือกดน้ำร้อนใส่หรืออาจผสม สิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนเท่าที่รู้สึกสบาย ลดหรืองดสิ่งที่มีฤทธิ์เย็นสดเท่าที่รู้สึกสบาย
                 กลุ่มอาการของภาวะร่างกายที่มีสาเหตุเกิดจากร่างกายร้อนเกินตีกลับเป็นอาการเย็นเกิน (เย็นหลอก)
                   คือ ต้นเหตุจากร้อนแต่มีสภาพตีกลับจนเกิดอาการเย็นเกิน เมื่อใช้สิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนแก้ อาการจะยิ่งแย่ไปกว่าเดิม แต่พอใช้สิ่งที่มีฤทธิ์เย็นกลับรู้สึกสบาย ก็ให้ใช้สิ่งที่มีฤทธิ์เย็น เพราะต้นเหตุเกิดจากร้อน ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า             ละเหตุทุกข์ได้เป็นสุขในที่ทั้งปวง(พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ ข้อ ๕๙), ละทุกข์ทั้งปวงได้ เป็นความสุข (พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๕ ข้อ ๓๓) จะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าพบว่า การดับทุกข์ที่ต้นเหตุจะทำให้ทุกข์ดับและเกิดความสุขขึ้น
                   กลุ่มอาการของภาวะร่างกายที่มีสาเหตุเกิดจากร่างกายเย็นเกินตีกลับเป็นอาการร้อนเกิน (ร้อนหลอก)
                   คือ ต้นเหตุจากเย็นแต่มีสภาพตีกลับจนเกิดอาการร้อนเกิน เมื่อใช้สิ่งที่มีฤทธิ์เย็นแก้ อาการจะยิ่งแย่ไปกว่าเดิม แต่พอใช้สิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนกลับรู้สึกสบาย ก็ให้ใช้สิ่งที่มีฤทธิ์ร้อน เพราะต้นเหตุเกิดจากเย็น การดับทุกข์ที่ต้นเหตุจะทำให้ทุกข์ดับและเกิดความสุขขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น