Translate

ยาเม็ดที่ 8 ใช้ธรรมะ ทำใจให้สบาย ผ่อนคลายความเครียด

8. ใช้ธรรมะ ทำใจให้สบาย ผ่อนคลายความเครียด



 vdo บรรยายธรรมะทำใจให้หายโรค
   


vdo ทุกข์อื่นยิ่งกว่ากามไม่มี 



vdo อัตตาซ้อน อัตตา



vdo วิธีปราบพรหม 3 หน้า นรกของคนดี

ลด ละ เลิกและหลีกเลี่ยง อารมณ์ที่ำทำลายสุขภาพ/อารมณ์ที่เป็นพิษ ได้แก่ ความเครียด ความเร่งรีบ/เร่งรัด/เร่งร้อน
ความวิตกกังวล ความไม่โปร่ง ไม่โล่ง ไม่สบายใจ ความไม่พอใจ ความมุ่งร้่าย อาฆาต พยาบาท ความโลภ โกรธ
หลง ยึดเกิน เอาแต่ใจตัวเอง เป็นต้น เพราะผู้ที่มีอารมณ์ดังกล่าว จะทำให้ร่างกายหลั่งสารแอดดรีนาลีนออกมาจาก
ต่อมหมวกไตสารดังกล่าวจะกระตุ้นเซลล์เยื้อเยื่อทุกส่วนของร่างกายผลิตพลังงานอย่างมากมายจนเกินความสมดุล
พอดีของร่างกาย พลังงานส่วนเกินที่ไม่สมดุลดังกล่าว จะเผาทำร้ายเซลล์เนื้อเยื่อทุกส่วนในร่างกาย อวัยวะใด
ที่อ่อนแอก็จะแสดงอาการไม่สบายก่อนอวัยวะอื่น ถ้าอารมณ์ดังกล่าวยังอยู่อวัยวะอื่น ๆ ก็จะเสื่อมและแสดง
อาการไม่สบายตามกันไป

ตรงกันข้่ามถ้าเราสามารถสลายอารมณ์ดังกล่าวได้ จิตใจก็จะรู้สึกสบาย เบิกบานแจ่มใส มีความสุข สารเอ็นโดรฟิน
ก็จะหลั่งออกมาจากต่อมใต้สมองที่ื่ชื่อต่อมพิทูอิทารี่ สารดังกล่าวมีฤทธิ์ระงับปวดแรงกว่าฝิ่น 200 เท่า
(แต่ไม่มีพิษเหมือนฝิ่น) จึงช่วยบรรเทาอาการปวดได้เป็นอย่างดีิ และสารดังกล่าวมีฤทธิ์ในการช่วยส่งพลังชีวิต /
พลังงานที่เป็นประโยชน์ไปยังเซลล์ทุกเซลล์ของร่างกาย จึงช่วยให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายแข็งแรง ช่วยให้
เม็ดเลือดขาวแข็งแรง เม็ดเลือดขาวจึงสามารถกำจัดเชื้อโรค สิ่งแปลกปลอมและสิ่งที่เป็นพิษออกจากร่างกาย
ได้ดี ร่างกายจึงแข็งแรงขึ้น

พระพุทธเจ้าตรัสว่า ต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ก็คือ การยึดมั่นถือมั่นปักมั่นในสิ่งนั้น ๆ
จึงทำให้เกิดพลังงานอารมณ์ทุกข์ในใจเกิดอารมณ์ที่ำทำลายสุขภาพหรืออารมณ์ที่เป็นพิษเทคนิคที่สำคัญในการสลาย
ล้างพลังงานยึดมั่น ถือมั่นปักมั่นในสิ่งนั้น ๆ เพื่อดับต้นเหตุของทุกข์ ดับอารมณ์ที่ทำลายสุขภาพ/อารมณ์ที่เป็นพิษ ได้แก่ ...

   - การหมั่นไตร่ตรองผลเสียของการเสพ/การติด/การยึดมั่นถือมั่นปักมั่น/การเอาสิ่งนั้น ๆ
   - การหมั่นไตร่ีตรองผลดีของการไม่เสพ/ไม่ติด/ไม่ยึดมั่นถือมั่น/ไม่ปักมั่น/ไม่เอา/ให้/ปล่อย/วางสิ่งนั้น ๆ
      ให้เป็นของโลกให้หมุนวนเกิดดับ ๆ อยู่ในโลก
   - การไตร่ตรองว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารับอยู่เป็นอยู่ ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดี ล้วนเกิดจาก สิ่งทีเราทำมาทั้งชาตินี้
      และชาติก่อนเมื่อให้ผลของการกระทำแล้วก็จบดับไป โดยไตร่่ตรองซ้ำแล้วซ้ำอีกหลาย ๆ ครั้ง
   - ในขณะที่มีอารมณ์ทุกข์หรืออารมณ์ที่เป็นพิษนั้น จนพลังงานหรืออารมณ์ที่ทุกข์นั้นลดน้อยลงหรือหายไป
      ถ้ามีอารมณ์ทุกข์ดังกล่าวอีก เราก็ปัสสนาอีก ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าอารมณ์ที่เป็นทุกข์นั้น จะหมดไปจากชีวิตเรา

ยิ่งถ้าเราทำควบคู่พร้อมกับสมถะก็ยิ่งดี (สมถะไม่ใช่ตัวล้างพลังงานทุกข์ แต่เป็นตัวที่เสริมพลังของวิัปัสสนาให้มี
ประสิทธิภาพในการล้างสลายพลังงานที่เป็นทุกข์ให้ดียิ่งขึ้น) สมถะ คือ การอดทนฝึนข่มที่จะไม่ทำตามกิเลส/ซาตาน
การหลบเลี่ยงพรากห่าง เมื่อรู้สึกว่า มีความเครียดมากเกินไป ทนฝึนได้ยากทนฝืนได้ลำบาก ถ้าอยู่ในจุดที่มีกิเลสนั้น ๆ
การฝึกจิตให้สงบด้วยการเอาจิตไปกำหนดไว้ที่สิ่งใดสิ่งหนึ่งจุดใดจุดหนึ่ง และการใช้ปัญญาสมถะ เช่น มัีน/เขา
ก็เป็นธรรมดาของมัน/เขาอย่างนั้นแหละ ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นตั้งอยู่่และดับไปเป็นธรรมดา ไม่ใช่ตัวเราของเรา
ตายไปก็เอาอะไรไปไม่ได้ เป็นต้น

พระพุทธเจ้าตรัสว่า กรรมสโกมหิ กรรมทายาโท กรรมโยนิ กรรมพันธุึ กรรมปฏิสรโน แปลว่า
    - เรามีกรรมเป็นของ ๆ ตน
    - เรามีกรรมเป็นทายาท
    - เรามีกรรมเป็นแดนเกิด
    - เรามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์
    - เรามีกรรมเป็นผู้ให้ผล
สิ่งที่ตนเองและผู้อื่นได้รับ ล้วนเกิดขึ้นจากการกระทำของแต่ละคนแต่ละคนเองทั้งนั้น
นับว่าพระพุทธเจ้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีเหตุมีผลรู้ที่ไปที่มาของการเกิดดับของทุกสิ่งทุกอย่างโดยแท้
ซึ่งคำตรัสทุกคำของพระพุทธเจ้านั้น พระองค์ท่านตรัสว่า ...
   - เชื้อเชิญหรือท้าทายให้มาพิสูจน์กันได้(เอหิปัสสิโก)
   - เป็นจริงตลอดกาล(อะกาลิโก)
   - ผู้ศึกษาและปฏิับัติพึงรู้เห็นได้ด้วยตนเอง(สันทิฏฐิโก)

พระุพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์สอนว่า ...
   - ผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องกรรมวิบาก(การกระทำและผลของการกระทำ)
   - ย่อมเป็นผู้งมงายอย่างแท้จริงมืดดำมืดบอด(ไสยศาตร์)
     อย่างแท้จริง ไม่รู้เหตุ ไม่รู้ผล ไม่รู้ที่ไปที่มาของสิ่งใด ๆ ในโลก

การจะล้างหรือดับพลังงานที่เป็นทุกข์ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น เราต้องปฎิบัติสมถะธุระ และวิัปัสสานะธุระควบคู่กัน
อย่างต่อเนื่อง โดยปฏิบัติิซ้ำ ๆๆๆๆๆๆ จนเกิดผลำเร็จคือ อาการทุกข์ในใจลดน้อยลงหรือหมดไป
ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า 

"วิริเยนะทุกขมเจติ"
 แปลว่า คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร

การฝึกพรหมวิหาร 4 ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้เกิดสุขภาพดี ดังที่พระุพุทธเจ้าตรัสไว้ ในพระไตรปิฏก " อนายุสสสูตร " ว่า
การปฏิบัติพรหมวิหาร 4 (พรหม 4 หน้า) ได้แก่
   1. เมตตา (ปรารถนาให้ผู้อื่นผาสุก/พ้นทุกข์/ได้ประโยชน์/ได้สิ่งที่ดี)
   2. กรุณา (ลงมือกระทำตามที่เราปรารถนาให้เกิดสิ่งที่ดีนั้น ๆ)
   3. มุทิตา (ยินดีที่เขาได้ดีหรือเมื่อเกิดสิ่งที่ดี)
   4. อุเบกขา (จิตอยู่ในสภาพปล่อยวาง/สงบสบาย)
เมื่อได้พากเพียรพยายามทำดีเต็มที่แล้ว ไม่ว่าดีจะเกิดขึ้นมาก เกิดขึ้นน้อยหรือดีไม่เกิดขึ้น ก็ปล่อยวางสิ่งนั้นให้โลก
เป็นผู้ไม่ติดไม่หลงยึดมั่นถือมั่นปักมั่นในการกระทำและผลของการกระทำ ว่าเป็นตัวเราของเรา
เป็นผู้ไม่อยากได้ไม่อยากเป็นไม่อยากมีอะไรตอบแทน จึงสงบสบายไม่มีทุกข์ในใจใด ๆ เป็นเหตุให้แข็งแรงอายุยืน

แต่บางคนที่หลงยึดมั่นถือมั่นปักมั่นในดีมาก ๆ (หลงดี) ก็จะใจร้อนเร่งรัดเร่งรีบ ไปกดดัน/บีบคั้น/บีบบังคับ/ยัดเยียด
สิ่งที่ตนเห็นว่าดี ให้กับตนเองและผู้อื่น จนเกิดทุกข์โทษภัยผลเสียต่อตัวเองและผู้อื่น เรียกว่า พรหม 3 หน้า
หลงติดหลงยึดมั่นถือมั่นปักมั่นในหน้าที่ 3 ของพรหม หลงติดยินดีที่เขาได้ดี หลงติดยินดีที่ดีเกิด แต่ถ้าเขา
ไม่ได้ดีหรือดีไม่เกิดก็จะยินร้าย ไม่ชอบใจ ไม่พอใจ ไม่สบายใจเป็นทุกข์ใจ แล้วทำอุเบกขาวางวางดีวางทุกข์
ไม่เป็น ความจริงแล้ว การมีมุทิตา(ยินดีที่เขาได้ดีหรือเกิดดี) เป็นสิ่งที่ดีแต่การหลงติดหลง ยึดมั่นถือมั่นปักมั่น
ในมุทิตานั้นไม่ดี
เทคนิคดับโลก(โรค) ร้อนด้วยวิุถีแห่งพรหม

โดยการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง พรหม 3 หน้า และ 
พรหม 4 หน้า
 พรหม 3 หน้า (หลงดี กิเลส อัตตามานะ)
 พรหม 4 หน้า (โลกอยู่ได้ด้วยพรหมวิหารธรรม)
 ทำดีมีทุกขใจ มีจิตไม่โปร่ง ไม่โล่ง ไม่สบายปะปน ทำดีไม่มีทุกข์ใจ จิตโปร่ง โล่ง สบายตลอด
 เป็นผู้จัดการชีวิตผู้อื่น เป็นที่ปรึกษาคอยช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น
เป็นเืสือกชน ล่วงละเมิด จุ้นจ้าน วุ่นวาย กดดัน
บีบคั้น บีบบังคับ ให้ผู้ื่อื่นคิด พูด ทำ ในสิ่งที่ถูกต้อง
เหมาะสมดีงาม ดังที่ใจตนคิด และต้องการ แ้ม้่ผู้่อื่น
จะไม่พร้อมและไม่เต็มใจ
 เป็นสุภาพชน ไม่ล่วงละเิมิด ไม่จุ้นจ้าน ไม่วุ่นวาย ให้อิสระเสรี
ให้สิทธิ เสรีภาพผู้อื่นใน การคิด พูดทำ ตามความเห็นความต้องการ
ของเขา เขาจะดีจะชั่ว มันก็เป็นสิทธิเสรีภาพของเขา เรามีหน้าที่
เชื้อเชิญ ชวนเชิญ ชักชวนให้มาพิสูจน์ หันมาทำในสิ่งที่ถูกต้อง
เหมาะสม ดีงาม ด้วยความ เต็มใจสมัครใจของเขา โดยไม่บีบบัีงคับ
จิตใจ จะช่วย เหลือเกื้อกูล หรือรับใช้ผู้อื่น เมื่อเขาพร้อมและเต็มใจ
ให้เราช่วย
น่ารำคาญที่สุด น่ารังเกียจที่สุด น่าเบื่อหน่ายทีุ่สุด
น่าไกลห่างที่สุด
 เมื่อคบหามีความสบายใจ อบอุ่น สงบเย็น ผาสุก น่าเข้าใกล้
น่าระลึกถึง
 คนดีที่โลกเกลียดชัง เบื่อระอา รำคาญ คนดีที่โลกรัก รอ และต้องการ
อยากให้เกิดสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมดีงาม และจะ
ทุกข์กาย ทุกข์ใจ หงุดหงิด โมโห พยาบาท น้อยใจ
ไม่โปร่งไม่โล่ง ไม่สบายใจ ไม่ชอบใจ อึดอัดขัดเคือง
หาเรื่อง เอาเรื่อง กดดัน ผลักดัน ดีดดิ้น ซัดส่าย
เมื่อไม่ได้ดังใจตนต้องการ (มุ่งหมายและปักมั่น)
 อยากให้ิเกิดสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมดีงาม แต่ไม่ทุกข์กาย
ไม่ทุกข์ใจยังมีความสบายใจ อยู่ได้ แม้จะไม่ได้ดังใจ
ดังความคิดที่ตนต้่องการ (มุ่งหมายแต่ไม่ปักมั่น)
ยินดีในการทำความดีด้วยความวิตกกังวล กลัวว่าดีจะ
ไม่เกิด หลงเสพดี หลงอัสสาทะ (เอร็ดอร่อย ชื่นชอบใจ)
ฟูใจ ดีใจสุข ใจ สบายใจ เมื่อเกิดดีสมดังใจ
 ทำดีด้วยความยินดี เต็มใจ สบายใจ สุขใจ เพราะรู้ว่าดีก็เป็นประโยชน์
เป็นคุณค่า เป็นความประเิสริฐในดี เมื่อดีเกิดก็รู้ว่าเกิดได้ เพราะทั้่งผู้ให้
และผู้ฝึกได้ทำเหตุปัจจัยพอเหมาะและรู้ว่าดี ที่เกิดนั้น เมื่อตั้งอยู่และให้
ผลดีตามฤทธิ์แรงที่ก่อเกิด ก็จะดังไปหรือไม่เราก็ดับขันธ์ ทิ้งดีนั้นเป็น
ของโลก และรู้ว่าดีทำหน้าที่ยังอกุศลให้เบาบางลง จึงมีความยินดี
เต็มใจ สบายใจในการทำดี และทำใจในใจสักแต่ว่าอาศัยประโยชน์ของ
ดีอยู่ชั่วครา ไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเราของเราอย่างเที่ยงแท้ถาวร
จึงเป็นผู้ที่มีความสุขในการทำดีเมื่อมีเหตุปัจจัยที่เหมาะสม

เมื่อเหตุปัจจัยไม่เหมาะสม เช่น ถ้าทำสิ่งที่เราเห็นว่าดีนั้น ในเวลานั้น
สถานการณ์อย่างนั้นจะทำให้เกิดการเบียดเบียนจิตใจและร่างกาย
ของตนเองและผู้อื่น ก็จะมีความสุขมีความพอใจในการไม่ทำ
เพราะนอกจากจะไม่เสียหายแล้ว ยังไม่เปลืองแรง ไม่เปลืองตัวด้วย
มีความสุข ในการไม่หลงเสพดี มีความสุขในการทำดีแล้ววางดี
ทิ้งดีให้โลก มีความสุข ในการไม่อยากได้ไม่อยากเป็น ไม่อยากมีมา
เพื่อตัวเราของเรา เพราะรู้ว่าสมบัติที่มนุษย์ควรอาศัยขณะยังมีชีวิต
ของจิตวิญญาณนี้ อยู่ก็คือ กรรมดี(กุศลธรรม) และความไม่ทุกข์
ส่วนสมบัติแท้ ๆ ชิ้นสุดท้่ายก็คือ ความไม่ได้ ไมเป็น ไม่มีอะไร
คิดหวังว่าโลกนี้ต้องสมบูรณ์แบบ รู้ความจริงว่าโลกนี้พร่องอยู่เป็นนิจ
เป็นการให้เพื่อจะเอา เป็นผู้จะเอาจะเสพพฤติกรรมดี ๆ
จากผู้อื่นเหมือนจะให้ผู้อื่นได้ดี หรือมีพฤติกรรมดี ๆ
แต่ตนเองก็เอาการเสพสิ่งดีนั้นตอบแทนให้สมใจตน
จิตที่คิดจะเอาจะเร่าร้อนทุกข์ระทม
 เป็นการให้เพื่อให้ เป็นผู้ให้่ผู้อื่นได้สิ่งดีหรือมีพฤติกรรมดี ๆ
โดยไม่อยากได้ ไม่อยากเป็นไม่อยากมีอะไรตอบแทน
แม้แต่รอยยิ้มและคำขอบคุณ อย่าว่าแต่เพีียงเท่านั้นเลย
จะไม่เสพแม้ดีที่เกิดขึ้น จิตที่คิดจะให้สบายกว่าจิตที่คิดจะเอา
ไม่รู้ความจริงตามความเป็นจริงว่าใครจะได้รับอะไร
เท่าไหร่ เวลาใดก็ตามเหตุปัจจัยของการกระทำ (กรรม)
ของคน ๆ นั้น ทำมา จะได้ดีมากไปกว่าที่ตนทำมาไม่ได้
 รู้ความจริงตามความเป็นจริงว่าใครจะได้รับอะไร เท่าไหร่
เวลาใดก็ตามเหตุปัจจัยของการกระทำ (กรรม) ของคน ๆ นั้น
ทำมา จะได้ดีมากไปกว่าที่ตนทำมาไม่ได้
เป็นผู้หลงผลของการกระทำ ผลออกมาดี สมใจ
ก็จะฟูใจ สุขใจ ผลออกมาไม่ดีหรือได้น้อยก็จะทุกข์ใจ
ไม่พอใจ
 เป็นผู้อยู่เหนือผลของการกระทำ ไม่ว่าผลจะออกมาอย่างไร
ก็ไม่ทุกข์ใจ เพราะรู้ว่า เมื่อเราได้เพียรพยายามเต็มที่อย่างพอดี
แล้ว ผลที่เกิดขึ้นก็ดีที่สุดแล้วที่เป็นไปได้จริง จึงพอใจในผลนั้น
แล้ววางผลนั้นให้โลกได้อาศัย ส่วนตนเองเอาความสงบสบาย
ความไม่ได้ ไม่เป็น ไม่มีอะไรดีไม่ใช่สุข-ไม่ใช่ทุกข์ในใจ
แต่ดีเป็นประโยชน์ เป็นคุณค่า เป็นสิ่งที่ควรส่งเสริม เป็นสิ่ง
ที่ควร กระทำและควรอาศัย
ส่วนชั่ว..ก็ไม่ใช่สุข-ไม่ใช่ทุกข์ในใจเรา ชั่วเป็นความเดือดร้อน
เป็นความเสื่อมต่ำ เป็นสิ่งที่ไม่ดีไม่ควรทำ ไม่ควรส่งเสริม
(ควรต่อต้าน) และไม่อาศัย เรารู้่ดีรู้่ชั่วได้ แต่เราหลงรักหลงเกลียด
ความดีความชั่วไม่ได้ เพราะทั้งรักและเกลียดเป็นเหตุทำให้ใจเป็น
ทุกข์ มนุษย์ผู้มีปัญญาและมีความประเสริฐแท้ จึงเป็นผู้ยินดีเต็มใจ
ในการไม่ทำชั่ว ยินดีเต็มใจในการทำแต่ความดีอย่างเต็มที่
โดยไม่เบียดเบียนไม่ทรมานตน ตามองค์ประกอบเหตุปัจจัยที่จะ
ทำได้ ณ เวลานั้นแล้วทำจิตใจให้ผ่องใสผาสุกสงบสบาย
ด้วยการปล่อยวางทั้งการกระทำและผลของการกระทำ
นั้นให้โลกไป
ทำดีด้วยความกังวลใจและเปลืองพลังในการลุ้นผล ยังมีความสบายใจอยู่ได้ ทำดีด้วยความยินดี เต็มใจ สบายใจ
ไม่กังวลกับผล แต่มีความสุขในการตรวจผล ว่า ทำเหตุอย่างนี้
มีองค์ประกอบอย่างนี้ เกิดผลอย่างนี้ ถ้าคราวต่อไป
สามารถทำให้ดีกว่าได้ก็ทำ ถ้าทำไม่ได้ก็วางใจ
 ขยันเกินอย่างไม่ดูตาม้าตาเรือ (สถานการณ์
และความพร้อม ของตัวเองและผู้อื่น) ขยันเกินจน
ตัวเองต้องเสียสุขภาพเป็นประจำกินใช้ไม่พอดี
สละผลที่ได้ออกไปอย่างไม่พอดี เช่น
มากไป หรือน้อยไป จนเบียดเบียนตน
 ขยันพอดีอย่างดูตาม้าตาเรือ (สถานการณ์และความพร้อมของตัวเอง
และผู้อื่น) ขยันเต็มที่ พอดีเท่าที่จะมีสุขภาพดี เพราะรู้ความจริงตามความ
เป็นจริงว่า ขยันเกินร่างกายก็เสื่อมเร็วขี้เกียจเกินร่างกายก็เสื่อมเร็ว ขยัน
เต็มที่พอดีแข็งแรงที่สุด สบายที่สุด เสื่อมช้าที่สุด สละผลที่ำ้ได้ออกไป
อย่างพอดี เพราะรู้ความจริงตามความเป็นจริงว่า ถ้าสละมากไปก็ขาด
แคลน ไม่มีทุนขยายกิจการบุยนั้น ๆ ต่อไป หรือถ้ากักไว้ มากเกินหรือ
สละออกน้อยไป ก็จะเป็นภาระ และวิตกกังวลในการดูแลเปล่า ๆ
แทนที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและเป็นกุศลต่อตนเองกลับกลายเป็น
ปัญหาต่อตัวเอง ทุกข์ยากลำบากในการรักษา และทุกข์ยากลำบากใน
การขยายกิจการต่อ ตามความโ่ง่ ไม่รู้ทุกข์ โทษภัยของการมีมากเกิน
ของตนเอง นี้คือความซวยของคนรวยคนรวยจึงซวยกว่าคนจน
(คนจนที่มีปัญญารู้สัจธรรม)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น