Translate

ยาเม็ดที่ 3 การสวนล้างลำไส้ใหญ่(ดีท๊อกซ์)


3. การสวนล้างลำไส้ใหญ่ (ดีทอกซ์)


vdo การสวนล้างลำไส้ (ดีท๊อกซ์)

กายภาพด้านหน้า
เป็นการปรับสมดุลด้วยการล้างพิษ 3 อย่าง ออกจากลำไส้ใหญ่ ได้แก่

  1. พิษของเนื้ออุจจาระที่หมักหมม

  2. น้ำที่เป็นพิษอันเกิดจากทุกอวัยวะในร่างกาย 
ส่งสิ่งที่เป็นพิษมากำจัดที่ตับ ตับก็ระบายส่งไปที่ลำไส้เล็ก
แล้วก็ส่งต่อไปลำไส้ใหญ่

  3. พิษของพลังงานความร้อนที่เป็นของเีสีย
จากทุกอวัยวะในร่างกาย ซึ่งส่งมาระบายที่ลำไส้ใหญ่มากกว่าที่อื่น ๆ
จะเห็นได้ว่าหมอแผนปัจจุบัน ถ้าวัดไข้ทางทวาร เมื่อวัดอุณหภูมิได้เท่าไหร่
จะต้องลบออก 0.5 องศาเซลเซียส ในขณะที่การวัดไข้ในที่อื่น ๆ ไม่ลบออก
เพราะที่ลำไส้ใหญ่มีความร้อน มากกว่าที่อื่นในร่างกายถึง 0.5 องศาเซลเซียส
แม้หมอจีน ไม่ว่าผู้ป่วยจะเป็นโรคอะไร ก็นิยมฝังเข็ม หรือกดจุดที่ จุดเหอกู่
ตรงบริเวณกึ่งกลางระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ของมือ วัดเข้ามาด้านหลังมือจาก
ง่ามมือหนึ่งข้อนิ้วโป้ง เป็นจุดระบายพิษจาก ลำไส้ใหญ่ที่ดีมาก ซึ่งมักจะ
ทำให้อาการไม่สบาย ในร่างกายไม่ว่าจะเป็นอวัยวะใดก็ตามลดลงอย่าง
รวดเร็วผู้ป่วยที่อาการหนัก ทำวันละ 1-2 ครั้ง ส่วนคนทั่วไปทำสัปดาห์
ละ 1-3 ครั้งหรือเท่าที่ร่างกายรู้สึกสบาย

พิษทั้งสามประการนั้น จะเกิดขึ้นเป็นธรรมชาติของร่างกายทุกวัน
ถ้าไม่รีบระบายออก หรือมีการหมักหมมสะสมมากเกินไป ก็จะถูกดูดซึม
กลับหรือแพร่กระจายกลับไปทำลาย ทุกอวัยวะในร่างกาย ทำให้ร่างกาย
ทรุดโทรม และเจ็บป่วย ในทางตรงกันข้ามการสวนล้างสำไส้ใหญ่(ดีทอกซ์)
นั้นจะสามารถขับและระบายพิษทั้งสามประการออกจากร่างกายได้อย่าง
มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว และพลังงานของสมุนไพรที่ถูกกันที่เราใส่เข้าไป
ใน ลำไส้ใหญ่ ก็จะเคลื่อนไปดับพิษปรับสมดุล ทุกอวัยวะในร่างกายได้อย่าง
รวดเร็ว จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว
วิธีทำ เลือกสมุนไพรที่เหมาะสม คือ เมื่อใช้ทำดีท๊อกซ์แล้วรู้สึกสดชื่นโปร่งโล่งสบาย ตัวอย่างสมุนไพร เช่น

   - ใบเตย 1 ใบสมุนไพรทำดีทอกซ์
   - อ่อมแซบครึ่งกำมือ
   - ย่านาง 1-3 ใบ
   - น้ำมะนาว ครึ่ง-1 ช้อนโต๊ะ
   - น้ำมะขามครึ่งกำมือ
   - มะขามเปียก 1-3 ฝัก
   - ใบส้มป่อยครึ่งกำมือ
   - กาแฟ 1 ช้อนชา
   - บอระเพ็ด 1 ข้อนิ้วมือ
   - ลูกใต้ใบ 1 ต้น
   - ฟ้าทะลายโจร 1 ยอด(ยาวครึ่ง-1 คืบ) เป็นต้น

ให้เลือกใช้สมุนไพรอย่างใดอย่างหนึ่งที่ถูกกับร่างกายเรา คือ พอทำดีทอกซ์แล้วรู้สึกสดชื่น
โปร่ง โล่ง เบา สบายตัว ถ้าใช้แล้วไม่สบาย ก็แสดงว่าไม่ถูกกับคนนั้น ณ เวลานั้น ควรงดเสีย

นำสมุนไพรต้มในน้ำเปล่า เดือดประมาณ 5-10 นาที แล้วผสมน้ำธรรมดาให้อุ่นหรือใช้ใบสมุนไพรสดขยี้กับน้ำเปล่า
กรองผ่านกระชอน นำน้ำที่ได้ ไปใส่ขวดหรือถุงที่เป็นชุดสวนล้างลำไส้ โดยทั่วไปใช้น้ำสมุนไพร 500-1,500 ซี.ซี.
เปิดน้ำให้วิ่งตามสายเพื่อไล่อากาศออกจากสายแล้วล็อคไว้

จากนั้น นำเจลหรือวาสลีนหรือน้ำมันพืชหรือว่านหางจระเข้ทาที่ปลายสายสวน ประมาณ 1 ซม. เพื่อหล่อลื่น
หรืออาจใช้ปลายสายสวนจุ่มในน้ำก็ได้ ต่อจากนั้นค่อย ๆ สอดปลายสายสวน เข้าไปที่รูทวารหนัก สอดให้ลึกเข้าไป
ประมาณเท่านิ้่วมือเรา (ประมาณ 3-5 นิ้วฟุต) ยกหรือแขวนขวดสมุนไพรสูงจากทวารประมาณ 2 ศอก ค่อย ๆ
ปล่อยน้ำสมุนไพรให้ไหลเข้าไปในลำไส้ใหญ่ของเรา โดยใส่ ปริมาณน้ำเท่าที่ร่างกายเรารู้สึกสบายที่ทนได้
โดยไม่ยากไม่ลำบากเกินไป แล้วใช้มือนวดคลึงที่ท้อง พอปวดอุจจาระก็ไปถ่ายระบายออกในขณะที่ทำดีทอกซ์
เราสามารถนอน(ส่วนใหญ่นิยมนอนทำ) นั่งหรือยืนทำก็ได้ตามความเหมาะสมของสภาพร่างกายและสถานที่

ในกรณีที่คนกลั้นได้เก่ง เมื่อรู้สึกปวดถ่ายครั้งแรกให้กลั้นไว้ก่อน เพื่อให้ลำไส้บีบตัว สิ่งสกปรกที่ติดบริเวณ
ผนังลำไส้จะได้หลุดออกมาที่น้ำดีทอกซ์ ซึ่งส่วนใหญ่มักไม่เกินครึ่งนาทีก็จะหายปวด พอปวดอีกครั้งก็ไป
ถ่ายออกจะทำให้พิษถูกระบายออกได้ดี ส่วนผู้ที่ไม่มีกำลังกลั้น พอปวดครั้งแรกก็ให้ไปถ่ายระบายออกเลย
โดยไม่ต้องคำนึงถึงระยะเวลาการกลั้น เฉลี่ยไม่ควรเกิน 20 นาที

สำหรับผู้ป่วยที่อาการหนัก อาจทำดีทอกซ์ วันละ 1-2 ครั้ง อาจมากหรือน้อยกว่า ตามสภาพของร่างกาย คือ
ทำเท่าที่รู้สึกสบาย ส่วนคนทั่วไป ทำดีทอกซ์เฉลี่ย สัปดาห์ละ 1-3 ครั้ง หรือตามสภาพร่างกาย คือ ทำเท่าที่รู้สึกสบาย

สำหรับกรณีที่มีการผ่าตัดสำไส้่
 ควรรอให้แผลหายดีอย่างน้่อยหลัีงผ่าตัด 3 เดือนขึ้นไป จึงค่อยทำดีทอกซ์
โดยครั้งแรก ๆ ให้ใช้น้ำดีทอกซ์น้อย ๆ แค่พอรู้่สึกปวดระบายถ่ายท้องก่อน พอลำไส้ปรับสภาพดีแล้วจึงค่อยเพิ่ม
น้ำดีทอกซ์ในปริมาณที่รู้่สึกสบาย (ทนได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก)

ถ้าทำดีทอกซ์แล้วรู้สึกไม่สบายมักเกิดจาก   1. สมุนไพรนั้นไม่ถูกกับร่างกายเรา เช่น บางคนเวลาใช้กาแฟทำดีทอกซ์แล้วจะรู้สึกใจสั่นอ่อนเพลีย
       ก็แสดงว่าคนนั้นไม่ถูกกับกาแฟ ถ้าใช้กาแฟทำดีทอกซ์แล้วรู้ึสึกสบาย ก็แสดงว่าคนนั้นถูกับกาแฟ

   2. ใช้สมุนไพรเข้มข้นเกินไป ทำให้สมุนไพรเคลื่อนเข้าร่างกายเร็วและมากเกินไป เพราะช่องทางของลำไส้ใหญ่นั้น
        เป็นเส้นทางลมปราณที่สำคัญมาก เนื่องจากเป็นช่องทางที่พลังานจะเคลื่อนเข้า-ออกเร็วมาก ดังนั้นช่องทางนี้
        ควรใช้สมุนไพรเจือจางแค่พอดีสบายจะดีที่สุด

   3. เลือกใช้น้ำไม่ถูกกัน ณ เวลานั้น บางคนถูกกับน้ำอุ่น บางคนถูกกับน้ำอุณหภูมิธรรมดา ให้ดูที่ความรู้สึกสบายเป็นหลัก

   4. ปริมาณน้ำมากเกินไป ให้ใส่น้ำในปริมาณที่รู้สึกสบายหรือทนได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก

   5. แขวนขวดสูงเกินไป ปล่อยน้ำเข้าไปในลำไส้ แรงและเร็วเกินไป มักจะทำให้ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียนหรือเวียนศรีษะได้ง่าย
       ดังนั้น ควรค่อย ๆ ปล่อยน้ำเข้าไปในลำไส้ช้า ๆ เท่าที่รู้สึกสบาย กรณีที่แขวนขวดสูง ควรใช้เทคนิคการบีบหรือหักสายดีทอกซ์
       แล้วค่อย ๆ ปล่อยน้ำเข้าไปในลำไส้ช้า ๆ ในปริมาณที่เรารู้สึกสบาย

   6. กลั้นอุจจาระนานจนรู้สึกทรมานเกินไป ให้กลั้นในจุดที่เรารู้สึกทนได้โดยไม่ยากไม่ลำบากเกินไป

1 ความคิดเห็น: