Translate

ยาเม็ดที่ 5 การพอกทา หยอด ประคบ อบอาบด้วยสมุนไพร


5. การพอก ทา หยอด ประคบ อบ อาบ ด้วยสมุนไพรที่ถูกกัน คือเมื่อใช้แล้วรู้สึกสบาย

vdo การพอกทาหยอด ประคบ อบอาบ

การต้มสมุนไพร
เช่น พอกด้วยกากสมุนไพรฤทธิ์เย็น หรือพอกทาด้วยผงถ่านที่ใช้ก่อไฟทั่วไป
ผสมกับน้ำสมุนไพรฤทธ์เย็น (อาจผสมดินสอพองหรือน้ำปัสสาวะด้วยก็ได้
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการถอนพิษได้ดียิ่งขึ้น) โดยพอกทาทุก 4-6 ชั่วโมง
หรืออาจพอกทาทิ้งไ้ว้ทั้งคืนก็ได้ ถ้าใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็นแล้วรู้สึกไม่สบาย
ก็ปรับใช้สมุนไพรฤทธิ์ร้อน ถ้ารู้สึกสบายกว่า

กรณีที่มีภาวะร้อนเกิน

การถอนพิษด้วยการพอก/ทาด้วยสมุนไพรฤทธิ์เย็น โดยนำสมุนไพรฤทธิ์เย็น
เช่น ใบเตย เบญจรงค์(อ่อมแซบ) ผักบุ้ง บัวบก ย่านาง รางจืด วุ้นนว่านหางจระเข้
ใบมะขาม ใบส้มป่อย กาบหรือใบหรือหยวกกล้วย เป็นต้น จะใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือหลายอย่างรวมกันก็ได้ มาหั่นหรือโขลกให้แตกพอประมาณ
       อาจใช้กากสมุนไพรที่เหลือจากการทำน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นก็ได้
       อาจใช้ผ้าชุบน้ำสมุนไพรฤทธฺ์เย็นก็ได้
       อาจใช้ดินคลุกกับน้ำให้เหลวเหมือนตมก็ได้
       อาจใช้น้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็นสด คลุกับดินสอพองหรือปูนเคี้ยวหมากหรือ
แป้งฝุ่นที่ใช้ทาหน้าทาผิว ให้พอเหลวก็ได้
       อาจใช้ นำ้สกัดด้วยการกลั่นสมุนไพรฤทธฺ์เย็น น้ำมันเขียว นำ้มันเหลือง
น้ำมันพิมเสนการบูร เมนทอล ขึ้ผึ้งย่านาง-เบญจรงค์               
       ขึ้ผึ้งเสลดพังพอน ขึ้ผึ้งแก้หวัด ยาหม่องดำ ก็ได้

กรณีที่มีภาวะร้อนเกินและเย็นเกินเกิดขึ้นพร้อมกัน
ให้ใช้สมุนไพรฤทธิ์เย็นผ่านไฟ หรือสมุนไพรทั้งร้อนและเ้ย็นผ่านไฟ เช่น นำสมุนไพรฤทธิ์เย็นหรือสมุนไพรทั้งร้อนและเย็น
ต้มให้เืดือด 5-10 นาที แล้วผสมน้ำธรรมดาให้อุ่น ใช้อาบหรือนำผ้าชุบบิดให้หมาด วางประคบบริเวณที่ไม่สบาย หรืออาจ
นำสมุนไพรฤทธิ์เย็นหรือสมุนไพรทั้งร้อนและเย็น หั่นให้เล็กหรือโขลกพอแตก ห่อเป็นลูกประคบ นึ่งให้ร้อน วางประคบ
บริเวณที่ไม่สบาย ถ้ารู้สึกร้อนเกินไปก็ใช้ผ้่ารองที่ผิวหนังก่อนประคบก็ได้
กรณีที่มีภาวะเย็นเกินอย่างเดียวให้พอก ทา ประคบหรืออบด้วยสมุนไพรฤทธฺ์ร้อน เช่น ขมิ้น ขิง ข่า ตะไคร้ ไพล ใบมะกรูด เกลือ
น้ำมันพืช/น้ำมันสัตว์ชนิดต่าง ๆ ขึ้ผึ้งขมิ้น ขึ้ผึ้งไพล ขึ้ผึ้งน้ำมันงา ขึ้ผึ้งน้ำมันระกำ เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น